
5 หน่วยงานคัดค้านกฎหมายควบคุมเสรีภาพสื่อ
Category : News
ตามร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ที่กำลังมีการพิจารณากันอยู่ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนจำนวนมากว่าร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวไม่ได้เป็นการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนทว่าในทางกลับกันนี่คือการแทรกแซงและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ในนามสื่อมวลชนมากกว่า สำหรับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการระบุให้ ผู้ที่ประกอบอาชีพสื่อมวลชนต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ที่มาจากกลุ่มบุคคล ต้องมีตัวแทนภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง คณะกรรมการจะมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตวิชาชีพสื่อมวลชนได้ส่งผลให้เป็นการเปิดทางเพื่อเกิดการแทรกแซงดังกล่าวขึ้นมา
หน่วยงานที่ออกมาคัดค้านกฎหมายการควบคุมเสรีภาพสื่อประกอบไปด้วย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.), มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF), มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF), สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.), ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ.) และคณะกรรมการการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ได้มีการแสดงความคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะต่อการจัดทำกฎหมายเพื่อการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพรวมถึงมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ดังต่อไปนี้
- เสรีภาพของประชาชน หมายรวมถึง เสรีภาพของสื่อมวลชน ด้วย จัดเป็นหลักการสำคัญของสิทธิเสรีภาพที่สำคัญเรื่องหนึ่งในสังคมประชาธิปไตย ทั้งเรื่องหากมีการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชนต้องมีการคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของภาคประชาชน การส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนจึงต้องมีการคำนึงถึงหลักเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนอย่างเคร่งครัด
- แนวคิดสำหรับการจัดทำกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองเสรีภาพต่อการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนต้องอยู่บนพื้นฐานร่วมกัน สื่อมวลชนก็ต้องมีเสรีภาพควบคู่กันไปด้วย หรือมีการถูกกำกับภายใต้ความรับผิดชอบที่สื่อมวลชนพึงมีต่อสาธารณะประโยชน์เป็นสำคัญ ประชาชนและผู้บริโภคสามารถใช้วิจารณญาณต่อการเป็นวิญญูชนเพื่อวินิจฉัยได้ด้วยตนเอง เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องได้รับการเรียนรู้พร้อมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมร่วมกันกับสังคม
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีบทบัญญัติคุ้มครองเสรีภาพของตัวสื่อมวลชนไว้ในเรื่องของการเสนอข่าวสาร หรือมีการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องของสิทธิพลเมืองพร้อมสิทธิทางการเมืองเกี่ยวกับเสรีภาพที่ได้รับ มีการแสวงหาพร้อมเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็น ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบในเรื่องการแสดงความคิดเห็นรวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารดังกล่าว ไม่มีการขัดต่อข้อกฎหมายและศีลธรรมอันดีต่อสังคม สื่อมวลชนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายหลายฉบับ
ถือเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไปเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมเสรีภาพสื่อว่าสุดท้ายแล้วจะเป็นข้อที่เกิดขึ้นได้ตามคำเรียกร้องของสื่อหรือไม่ เหตุเพราะสื่อถือเป็นกลุ่มคนสำคัญที่จะมีการรายงานข่าวคราวความเคลื่อนไหวต่างๆ ให้คนทั่วไปได้รับรู้นั่นเอง